วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร



แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร

                    แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา โดยจะพบว่า ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีและจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปดังนี้
                    รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950
                    มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนายจากคุณสมบัติของครู เชื่อว่าครูที่มีแนวโน้มจะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้                     1) เสียง 
                    2) รูปร่างหน้าตา 
                    3) ความมั่นคงในอารมณ์ 
                    4) ความน่าเชื่อถือ 
                    5) ความอบอุ่น 
                    6) ความกระตือรือร้น

                    ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครูในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก(Clinical supervision) คือ เทคนิควิธีสังเกตการสอนชั้นเรียน
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Clinical supervision https://panchalee.wordpress.com/2009/06/22/clinical-supervision1/

                    ทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์ และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐานในการเรียนการสอนดังนี้
                    1) การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม(Behaviorist) เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้
                    2) การอนุมานจากความคิดในด้านการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ ความทรงจำ การถ่ายโอนความรู้ เป็นต้น

                    ผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 เป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา (Cognitive learning theory) สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอน จึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้ก่อน ในประเทศไทย คุรุสภา เป็นผู้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

                    จากที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้รู้ว่างานวิจัยและข้อมูลเหล่านี้ ช่วยให้เรามองเห็นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรของเราได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น