วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การวางแผนหลักสูตรเพื่อการบรรลุทักษะในศตวรรษที่ 21

                ปี ค.ศ. 1983 สมาคมการพัฒนาหลักสูตรและการนิเทศ (Association for Supervision and curriculum development : ASCD)ได้เผยแพร่บทความวิจัย ของ Benjamin I. Troutman and Robert D.Palombo เรื่อง Identifying Futures Trends in Curriculum Planning โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 36 คนจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ข้อมูลที่ได้สรุปได้ว่า ในอนาคตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นตัวชี้การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร อันเป็นผลจาก การขยายความรู้ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และความรู้มีความเป็นศาสตร์เฉพาะการเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการศึกษาผลต่อหลักสูตรใน 3 ประเด็น คือ

                1 ความเป็นความรู้ที่ร่วมกันของวิทยาการที่เจริญก้าวหน้า

                2 ความสมดุลระหว่างความยากลำบากในการได้มาของข้อเท็จจริงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการ

                3 เอกสารความรู้ที่ใช้เป็นแหล่งความรู้ในหลักสูตร

                จากขอบข่ายดังกล่าวนี้ กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ให้ความเห็นว่าแนวโน้มในอนาคตที่มีผลต่อการวางแผนหลักสูตรมี 15 ประเด็นคือ

                1.ทักษะพื้นฐานทางวิชาการ (Basic Academic Skills) จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับทักษะการสื่อสาร คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีวศึกษา

                2. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ (Computes and Other Information Technologies) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ เมื่อรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอุปมาดั่งเช่นเป็นพาหนะขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกคน

                3 ความยืดหยุ่นของหลักสูตร (Curriculum Flexibility) เพื่อโอกาสมากขึ้นในการเพิ่มสมรรถนะและความรวดเร็วของขอบข่ายหลักสูตร

                4 การทบทวนหลักสูตร (Curriculum Revision) พัฒนาแผนปฏิบัติการที่แน่ใจว่าสามารถดำเนินการต่อไปได้, มีการประเมินอย่างเป็นระบบ, และหลักสูตรได้รับการตรวจทาน

                5 ความเป็นประชาธิปไตย (Democratic Ideals) ทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

                6 โปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (Early Childhood Programs) ขยายโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (เด็กก่อนอนุบาล) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้

                7 การมองอนาคต (Futures Perspective) การรวมขอบเขตสาระเป็นหลักสูตรเดียวโดยสิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นประเด็นสะท้อนและอธิบายประเด็นร่วมสมัย แนวโน้มอนาคต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจุบันกับเหตุการณ์ที่ผ่านไปและทางเลือกในอนาคต

                8 สัมพันธภาพระดับสากล (Global Interrelationships) ให้ความสำคัญกับมุมมองของความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม-ชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่หลักสูตรต้องมีความหลากหลาย

                9 การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ขยายโอกาสสำหรับสมาชิกของชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนที่สนใจเรียนรู้ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                10 สื่อมวลชน (Mass Media) ให้ความสำคัญกับทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ การฟัง และ การดูที่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายจากสื่อ

                11 การเติมเต็มบุคลิกภาพ (Personal Fulfillment) โรงเรียนเป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างความคิดต่อตนเองเชิงบวก และพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

                12 การประยุกต์กระบวนการ (Process Approach)หลักสูตรมุ่งที่การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะการนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า

                13 การพัฒนาทีมงาน (Staff Development ) เพิ่มโอกาสให้พัฒนาทีมงาน โดยเฉพาะเรื่องกี่ยวกับเทคโนโลยี

                14 ใช้ชุมชน (Use of Community) เพิ่มบทบาทของผู้ปกครองและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการจัดโปรแกรมการศึกษาเชื่อมโยงการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์ในชุมชน

                15 การอาชีวะและอาชีพศึกษา (Vocational and Career Education) แน่ใจว่าการศึกษาอาชีวและอาชีพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ในการทำงานและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน

ไฟล์อ้างอิง : (แบบดาวน์โหลด) http://www.ascd.org/ASCD/pdf/journals/ed_lead/el_198309_troutman.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น