วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โหลดข้อมูลทั้งหมดที่นี่


        การเขียนบทความในหน้าบล็อกทำให้บทความที่ใหม่กว่าอยู่ด้านบนสุดของบทความทั้งหมด ทำให้การเรียงเนื้อหามีความสับสนเล็กน้อย 
        หากผู้ใดสนใจเนื้อหา และต้องการใช้ ผมได้รวมรวมไว้ในไฟล์นี้ http://1drv.ms/13fp1wJ แล้วครับ เนื้อหาจะเรียงลำดับตั้งแต่แรก และเหมาะแก่การอ่านมากกว่า #แต่เนื้อความจะไม่ต่างกับในบล็อกอย่างใดนะครับ


การวางแผนหลักสูตรเพื่อการบรรลุทักษะในศตวรรษที่ 21

                ปี ค.ศ. 1983 สมาคมการพัฒนาหลักสูตรและการนิเทศ (Association for Supervision and curriculum development : ASCD)ได้เผยแพร่บทความวิจัย ของ Benjamin I. Troutman and Robert D.Palombo เรื่อง Identifying Futures Trends in Curriculum Planning โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 36 คนจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ข้อมูลที่ได้สรุปได้ว่า ในอนาคตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นตัวชี้การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร อันเป็นผลจาก การขยายความรู้ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และความรู้มีความเป็นศาสตร์เฉพาะการเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการศึกษาผลต่อหลักสูตรใน 3 ประเด็น คือ

                1 ความเป็นความรู้ที่ร่วมกันของวิทยาการที่เจริญก้าวหน้า

                2 ความสมดุลระหว่างความยากลำบากในการได้มาของข้อเท็จจริงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการ

                3 เอกสารความรู้ที่ใช้เป็นแหล่งความรู้ในหลักสูตร

                จากขอบข่ายดังกล่าวนี้ กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ให้ความเห็นว่าแนวโน้มในอนาคตที่มีผลต่อการวางแผนหลักสูตรมี 15 ประเด็นคือ

                1.ทักษะพื้นฐานทางวิชาการ (Basic Academic Skills) จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับทักษะการสื่อสาร คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีวศึกษา

                2. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ (Computes and Other Information Technologies) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ เมื่อรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอุปมาดั่งเช่นเป็นพาหนะขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกคน

                3 ความยืดหยุ่นของหลักสูตร (Curriculum Flexibility) เพื่อโอกาสมากขึ้นในการเพิ่มสมรรถนะและความรวดเร็วของขอบข่ายหลักสูตร

                4 การทบทวนหลักสูตร (Curriculum Revision) พัฒนาแผนปฏิบัติการที่แน่ใจว่าสามารถดำเนินการต่อไปได้, มีการประเมินอย่างเป็นระบบ, และหลักสูตรได้รับการตรวจทาน

                5 ความเป็นประชาธิปไตย (Democratic Ideals) ทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

                6 โปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (Early Childhood Programs) ขยายโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (เด็กก่อนอนุบาล) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้

                7 การมองอนาคต (Futures Perspective) การรวมขอบเขตสาระเป็นหลักสูตรเดียวโดยสิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นประเด็นสะท้อนและอธิบายประเด็นร่วมสมัย แนวโน้มอนาคต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจุบันกับเหตุการณ์ที่ผ่านไปและทางเลือกในอนาคต

                8 สัมพันธภาพระดับสากล (Global Interrelationships) ให้ความสำคัญกับมุมมองของความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม-ชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่หลักสูตรต้องมีความหลากหลาย

                9 การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ขยายโอกาสสำหรับสมาชิกของชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนที่สนใจเรียนรู้ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                10 สื่อมวลชน (Mass Media) ให้ความสำคัญกับทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ การฟัง และ การดูที่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายจากสื่อ

                11 การเติมเต็มบุคลิกภาพ (Personal Fulfillment) โรงเรียนเป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างความคิดต่อตนเองเชิงบวก และพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

                12 การประยุกต์กระบวนการ (Process Approach)หลักสูตรมุ่งที่การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะการนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า

                13 การพัฒนาทีมงาน (Staff Development ) เพิ่มโอกาสให้พัฒนาทีมงาน โดยเฉพาะเรื่องกี่ยวกับเทคโนโลยี

                14 ใช้ชุมชน (Use of Community) เพิ่มบทบาทของผู้ปกครองและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการจัดโปรแกรมการศึกษาเชื่อมโยงการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์ในชุมชน

                15 การอาชีวะและอาชีพศึกษา (Vocational and Career Education) แน่ใจว่าการศึกษาอาชีวและอาชีพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ในการทำงานและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน

ไฟล์อ้างอิง : (แบบดาวน์โหลด) http://www.ascd.org/ASCD/pdf/journals/ed_lead/el_198309_troutman.pdf

แนวโน้มของหลักสูตร โดย Allan C. Ornstein

                ออนสไตน์ (Allan C. Ornstein) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับแนวโน้มของหลักสูตรว่า หลักสูตรในอนาคต เนื้อหาของวิชาเดี่ยวๆจะถูกลดลง และนำไปประสมประสานกับวิชาอื่นๆ ซึ่งขอบข่ายของวิชานั้นยังคงอยู่ แต่จะถูกบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นมากขึ้น ไม่สามารถพิจารณาพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยของวิชานั้นได้ เพราะมีความเป็นสหวิทยาการและหลากหลายมิติยิ่งขึ้น

แนวโน้มของหลักสูตรที่ออนสไตน์สรุปไว้มีดังนี้

                1.การศึกษาในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ ความเจริญก้าวหน้าของวีดิทัศน์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนได้ ทั้งในห้องเรียน ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้และที่บ้านของนักเรียน วีดิทัศน์มีความสะดวกที่นำมาเรียนได้ตลอดเวลา ช่วยไม่ให้ผู้เรียนพลาดบทเรียนที่สำคัญ ทั้งยังสามารถจะพิมพ์วีดิทัศน์หรือภาพจากจอ ให้อยู่ในรูปของภาพถ่าย ตาราง กราฟ หรือ รูปภาพในแบบต่างๆลงในกระดาษสำหรับศึกษาต่อได้
ความรู้ในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์นี้ ยังสามารถจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านระบบเครือข่าย สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

                2.การรู้ใช้เทคโนโลยี โรงเรียนปัจจุบันเห็นความสำคัญในวิวัฒนาการใช้เทคโนโลยี จึงได้ให้การศึกษากับบุคลากรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อีเล็กทรอนิกส์ เลเซอร์และหุ่นยนต์ การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เป็นทักษะพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากทักษะการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นหรือที่รู้จักกันว่า 3Rs เพราะในอนาคตจะมีการใช้เทคโนโลยีในอาชีพต่างๆเป็นอย่างมาก สถาบันการศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรในการเตรียมคนเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ในอนาคต

                3.การเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวโน้มการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นความจำเป็นกับสังคมสมัยใหม่ เพราะความรู้ที่มีมากมาย ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว, การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อประชาชนในการปรับเปลี่ยนการประกอบอาชีพไปสู่การพัฒนาใหม่ที่มีผลต่อเป้าหมายของบุคคลและสังคม ซึ่งการศึกษาไม่ได้จัดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น การศึกษาผู้ใหญ่จึงถูกคาดหวังให้มีเพิ่มมากขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 1990s

                4.การศึกษานานาชาติ การสื่อสารผ่านดาวเทียม รายการโทรทัศน์ เครือข่ายซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเลเซอร์ และการเดินทางด้วยเครื่องบินเจ็ท สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ดูเหมือนว่าโลกแคบลง สามารถศึกษาหาความรู้จากต่างประเทศได้ง่ายขึ้น และการสอนภาษาต่างประเทศมีก็มีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

                5.สิ่งแวดล้อมศึกษา ผลจากปัญหาต่างๆ ในด้านสิ่งแวดล้อมนำไปสู่ความต้องการความรู้และโปรแกรมใหม่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมศึกษา ถึงแม้ว่ามีวิชาที่เกี่ยวข้องคือธรณีวิทยา ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ อยู่แล้ว แต่ความต้องการความรู้ที่มีความหมาย มีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ ในยามคับขันหรือช่วงเวลาฉุกเฉินก็ยังจำเป็นอยู่ การเรียนรู้ในแบบบูรณาการถึงปัญหาและสาเหตุหลายๆอย่าง จะช่วยให้เกิดการลดปัญหาหรือนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาได้

                6.การศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ได้แก่โรงไฟฟ้า การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การบำบัดด้วยการฉายรังสี ความรู้เรื่องหลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นว่าพลังงานดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่ออากาศ อาหารอย่างไรกรณีที่มีการรั่วไหลจะมีผลกระทบในขอบเขตห่างไกลเพียงใด และความเข็มข้นของรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ที่อยู่ใกล้และไกลออกไปนับพันไมล์ ดังนั้นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์จะถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรโลกศึกษา

                7.สุขศึกษาและการดูแลสุขภาพกาย แนวโน้มเกี่ยวกับสุขภาพของประชากรชาวอเมริกันจะต้องได้รับความรู้จากหลักสูตรใหม่ๆ ตัวอย่างที่จัดเจนคือ นักการศึกษานำประเด็นเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่องที่รู้กันในชื่อว่า AIDS นำมาให้ความรู้กับผู้เรียน บรรจุเป็นเรื่องหนึ่งในหลักสูตร

                8.การศึกษาต่างด้าว สังคมอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก นัยสำคัญของคนต่างด้าวจำนวนมาก มาจากครอบครัวที่เรียกว่า ยากจน เด็กที่มาจากประเทศต่างๆจะถูกตีตราว่า ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้คนต่างด้าวที่เข้ามาใหม่นักการศึกษาให้คำแนะนำว่าโรงเรียนควรได้จัดหลักสูตรสองภาษา หลักสูตรพหุวัฒนธรรมจะช่วยให้เด็กต่างด้าวได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

                9.ภูมิศาสตร์ย้อนกลับ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นผลมาจากการตีพิมพ์หนังสือชื่อ Nation at Risk ในปี ค.ศ.1983 เด็กอเมริกันจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รวมถึงภูมิศาสตร์พื้นฐาน มีการทบทวนสาระสำคัญทางภูมศาสตร์ อาทิเรื่อง back to basic, การเรียนรู้วัฒนธรรม นิเวศวิทยาศึกษา และโลกศึกษา เรื่องราวต่างๆที่ศึกษาเล่าเรียนจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้รู้จักบทบาทของตนเองเพิ่มยิ่งขึ้น

                10.การศึกษาช่วงเกรดกลาง ผู้เรียนที่อายุระหว่าง 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงความเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การศึกษาที่จัดให้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ก่อนจะเป็นวัยรุ่น และวัยรุ่นตอนต้น เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนมัธยม โรงเรียนเกรดกลางมุ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สังคมหรือสังคมประกิต (socialization) ไม่เน้นวิชาการ แต่ให้ความสำคัญกับ intramural sport (กีฬาภายใน)แต่ไม่เน้น interscholastic sport (กีฬาระหว่างโรงเรียน) ถึงแม้ว่าโรงเรียนเกรดกลางจะมีอยู่โดยทั่วไป แต่หลักสูตรใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพัฒนาขึ้น การพัฒนาหลักครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนโปรแกรมการพัฒนาครูจะต้องมีความแตกต่างจากครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอนาคตสถาบันการผลิตครูจะต้องมุ่งพัฒนาความรู้ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสอนโรงเรียนเกรดกลาง

                11.การศึกษาสำคัญผู้สูงอายุ โรงเรียนจะต้องสอนให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและความคาดหวังของผู้สูงอายุ และช่วยให้มีความรักต่อผู้สูงอายุ(ทั้งพ่อแม่และปู่ย่าตายาย) นอกจากนั้น ในโรงเรียนจะต้องประสมประสานผู้สูงอายุทั้งผู้ที่มีความประสงค์จะเกษียณอายุและผู้เกษียณอายุจากงานประจำมาช่วยงานในโรงเรียนในรูปแบบ อาสาสมัคร ผู้ช่วยสอนและแหล่งทรัพยากรบุคคลในการเรียนรู้

                12.ธุรกิจการศึกษา โรงเรียนหรือสถานศึกษารูปแบบต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบของเอกชนและหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ อาทิ สถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กช่วงกลางวันและช่วงหลังเลิกเรียน ศูนย์กีฬาและโค้ชเอกชน ศูนย์ติวเตอร์แฟรนไชส์ วิทยาลัยเอกชนเพื่อให้บริการแนะแนว (ในการเลือกมหาวิทยาลัย) สถาบันติวเตอร์สอบ SAT และการทดสอบเพื่อขอรับในรับรองประกอบวิชาชีพ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการศึกษาเข้าสู่ตลาดการค้าที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการศึกษาจากผู้เรียนโดยตรง

                13.การศึกษาเพื่ออนาคต จากงานเขียนของทอฟเลอร์ (Toffler) ที่กล่าวถึงอนาคตว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่สามารถที่กำหนดขอบข่ายของการเปลี่ยนแปลงได้เลยนั้น จึงนำมาเป็นหลักการของความมุ่งหมายการศึกษา ที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง
แนวทางหนึ่งในการเตรียมตัวผู้เรียนในอนาคตก็คือ ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สาระสำคัญของการศึกษาดังกล่าวนี้พิจารณาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสถานการณ์ในสังคมโดยไม่แบ่งแยกออกจากกัน เพราะทั้งสองเป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการตัดใจในอนาคต เป็นการนำเสนออนาคตที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้โดยปกติทั่วไปที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และนำไปใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับตนเองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งนักการศึกษาได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นในอนาคตไว้ เรียกว่า “ทักษะในศตวรรษที่ 21”

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร



แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร

                    แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา โดยจะพบว่า ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีและจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปดังนี้
                    รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950
                    มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนายจากคุณสมบัติของครู เชื่อว่าครูที่มีแนวโน้มจะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้                     1) เสียง 
                    2) รูปร่างหน้าตา 
                    3) ความมั่นคงในอารมณ์ 
                    4) ความน่าเชื่อถือ 
                    5) ความอบอุ่น 
                    6) ความกระตือรือร้น

                    ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครูในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก(Clinical supervision) คือ เทคนิควิธีสังเกตการสอนชั้นเรียน
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Clinical supervision https://panchalee.wordpress.com/2009/06/22/clinical-supervision1/

                    ทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์ และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐานในการเรียนการสอนดังนี้
                    1) การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม(Behaviorist) เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้
                    2) การอนุมานจากความคิดในด้านการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ ความทรงจำ การถ่ายโอนความรู้ เป็นต้น

                    ผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 เป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา (Cognitive learning theory) สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอน จึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้ก่อน ในประเทศไทย คุรุสภา เป็นผู้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

                    จากที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้รู้ว่างานวิจัยและข้อมูลเหล่านี้ ช่วยให้เรามองเห็นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรของเราได้


วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร

         หลักสูตร เกิดขึ้นมาได้เพราะการนำความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ จากหลายๆ ด้าน เช่น ปรัชญา จิตวิทยา เทคโนโลยี และความรู้จากวิชานั้นๆเอง เป็นต้น ทำให้หลักสูตรมีความหลากหลาย ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ และผู้มีส่วนร่วมในสาขาที่แตกต่างกันไป ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนไม่เข้าใจกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่เกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง และร่วมกันนำไปใช้ 
         ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่อไปนี้
         1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
         2.ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
         3.ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
         4.ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร
         5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่

แนะนำตัว



สวัสดีครับ 


ผมชื่อ นายพิสิฐ เลิศพันธ์

นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 
วิชาเอกสังคมศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

       ล็อกนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้เรียนในวิชา CURRICULUM DEVELOPMENT หรือ การพัฒนาหลักสูตร ครับ




       เนื้อหาในบล็อกของผมเป็นเพียงส่วนหนึ่งในบทความทั้งหมดของกลุ่ม หากผู้ใดสนใจอยากศึกษาเพิ่มเติม ขอเชิญที่บล็อกหลักของกลุ่มได้ที่นี่เลยนะครับ